ไปบนสุด

foto1 foto2 foto3 foto4 foto5
.

เมนูหลัก

สถิติผู้เข้าขมเว็บไซต์

240448
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
6
160
762
238507
4424
5243
240448

ไอพีของคุณ : 35.171.22.220
ปี-ด-ว ชม:11

ปราสาทหินพิมาย

อ.พิมาย จ.นครราชสีมา

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย : หรือที่หลาย ๆ ท่านเรียกกันสั้น ๆ ว่า “ปราสาทหินพิมาย”  เป็นพุทธสถานในนิกายมหายานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย จากการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ เชื่อว่าปราสาทหินพิมายสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าศรีชัยวีรวรมัน กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ราวพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 หลังจากนั้นในช่วงศตวรรษที่ 18 กษัตริย์ขอมอีกหลายพระองค์ได้มีการบูรณะ ปฏิสังขรณ์และก่อสร้างปราสาทหินพิมายเพิ่มเติม โดยลักษณะผังของปราสาทหินพิมายนั้นสร้างขึ้นคล้ายเขาพระสุเมรุตามคติความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์และโลกมนุษย์ โดยมีปราสาทหินพิมายเสมือนประหนึ่งเป็นทางเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
1.ปรางค์ประธาน 2.ประติมากรรมรูปสิงห์ซึ่งตั้งอยู่หน้าสะพานนาคราช
3.ภาพรวมของปราสาทหินพิมาย 4.ปรางค์พรหมทัต (เรียงตามลำดับจากซ้ายมาขวา)

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
"ปราสาทหินพิมาย" คือ พุทธสถานในนิกายมหายานที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย




     ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมายมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจดังนี้

     “สะพานนาคราช” เมื่อท่านมีโอกาสเดินเข้าไปเยี่ยมชมปราสาทหินพิมาย ด่านแรกที่จะต้อนรับท่านก็คือ สะพานนาคราช บริเวณนี้ท่านจะเห็นสะพานนาคราชและประติมากรรมรูปสิงห์ ตั้งอยู่ด้านหน้าซุ้มประตูฝั่งทิศใต้ของปรางค์ประธานซึ่งเป็นส่วนหน้าของปราสาท เชื่อว่าสร้างให้เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงการเชื่อมต่อระหว่างโลกมนุษย์กับโลกสวรรค์ ตามคติความเชื่อในเรื่องจักรวาลทั้งในศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ลักษณะสะพานนาคราชเป็นรูปกากบาท ยกพื้นขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 2.50 เมตร ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวพญานาค ชูคอแผ่พังพานเป็นนาคเจ็ดเศียร มีลำตัวติดกันเป็นแผ่น หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
....................สถาปัตยกรรมโบราณอันทรงคุณค่า....................

 

     ซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอกของปราสาท เมื่อผ่านสะพานนาคราชขึ้นมาจะเป็นซุ้มประตูหรือที่เรียกว่า โคปุระ ของกำแพงปราสาทด้านทิศใต้ ก่อด้วยหินทราย มีผังเป็นรูปกากบาทและมีซุ้มประตูลักษณะเดียวกันนี้อีก 3 ทิศ คือ ทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก โดยมีแนวกำแพงสร้างเชื่อมต่อระหว่างกันเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยาวจากเหนือถึงใต้ 277.50 เมตร และกว้างจากตะวันออกไปตะวันตก 220 เมตร ซุ้มประตูด้านทิศตะวันตกมีทับหลังชิ้นหนึ่งสลักเป็นรูปขบวนแห่พระพุทธรูปนาคปรกที่ประดิษฐานอยู่เหนือคานหาม

     ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน (ระเบียงคด) จากซุ้มประตูและกำแพงชั้นนอก เข้าสู่ซุ้มประตูและกำแพงชั้นใน ซึ่งล้อมรอบปรางค์ประธาน ลักษณะกำแพงชั้นในของปราสาทแตกต่างจากกำแพงชั้นนอก คือ มีการก่อเป็นห้องยาวต่อเนื่องกันคล้ายเป็นทางเดินมีหลังคาคลุม อันเป็นลักษณะที่เรียกว่า ระเบียงคด มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวจากเหนือถึงใต้ 80 เมตร และความกว้างจากตะวันออกถึงตะวันตก 72 เมตร มีทางเดินกว้าง 2.35 เมตร เดินทะลุกันได้ตลอดทั้งสี่ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นหิน การบูรณะระเบียงคดเมื่อปีพ.ศ 2532 ได้พบแผ่นทองดุนลายรูปดอกบัว 8 กลีบ บรรจุไว้ในช่องบนพื้นหินของซุ้มประตูระเบียงคดเกือบจะทุกด้าน แผ่นทองเหล่านี้คงไว้เพื่อความเป็นสิริมงคลเหมือนที่พบในปราสาทอื่นอีกหลายแห่ง


ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
ทางเดินภายในกำแพงแก้ว (กำแพงชั้นนอก) และ ระเบียงคด (กำแพงชั้นใน)




     ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่กลางลานภายในระเบียงคด เป็นศูนย์กลางของศาสนสถานแห่งนี้ ปรางค์ประธานสร้างด้วยหินทรายสีขาวทั้งองค์ ต่างจากซุ้มประตู(โคปุระ)และกำแพงชั้นในและชั้นนอกที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงเป็นหลัก มีหินทรายสีขาวเป็นส่วนประกอบบางส่วน เนื่องจากหินทรายสีขาวมีคุณสมบัติคงทนดีกว่าหินทรายสีแดง องค์ปรางค์สูง 28 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้สิบสองยาวด้านละ 22 เมตร ด้านหน้ามีมณฑปเชื่อมต่อกับองค์ปรางค์โดยมีฉนวนกั้น องค์ปรางค์และมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ส่วนด้านอื่น ๆ อีกสามด้านมีมุขยื่นออกไปมีบันไดและประตูขึ้นลงสู่องค์ปรางค์ทั้งสี่ด้าน

     ปรางค์พรหมทัต ตั้งอยู่ด้านหน้าปรางค์ประธานเยื้องไปทางซ้ายสร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมย่อมุม กว้าง 14.50 สูงประมาณ 15 เมตร สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ภายในปรางค์พบประติมากรรมหินทรายจำหลักเป็นรูปประติมากรรมฉลององค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่7 (จำลอง) ที่เรียกว่า ปรางค์พรหมทัต ก็เพื่อให้เข้ากับตำนานพื้นเมืองเรื่องท้าวพรหมทัตพระเจ้าแผ่นดิน ปัจจุบันกรมศิลปากรได้เก็บรักษาองค์จริงไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย 

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
หน้าบันและทับหลังบริเวณโคปุระ (ซุ้มประตู) ด้านข้างปรางค์ประธาน




     ปรางค์หินแดง ตั้งอยู่ทางด้านขวา สร้างด้วยหินทรายสีแดง กว้าง 11.40 เมตร สูง 15 เมตร มีมุขยื่นออกไปเป็นทางเข้าทั้ง 4 ทิศ เหนือกรอบประตูทางเข้าด้านทิศเหนือมีทับหลังสลักเป็นภาพเล่าเรื่องในมหากาพย์ภารตะตอนกรรณะล่าหมูป่า ออกจากระเบียงคด (กำแพงชั้นใน) มาบริเวณลานชั้นนอกทางด้านทิศตะวันตก ล้อมรอบด้วยกำแพงชั้นนอกอีกชั้นหนึ่ง ประกอบด้วยอาคารที่เรียกว่า บรรณาลัย มีสองหลังตั้งอยู่คู่กันและมีสระน้ำอยู่ทั้งสี่มุม

     อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 07.30-18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศคนละ 40 บาท มีบริการยุวมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นนักเรียนจากโรงเรียนพิมายวิทยานำชมสถานที่ี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร. 0 4447 1568

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
....................ภาพจำหลักหินทรายจากยุคเก่า....................

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
....................เอกลักษณ์ของงานศิลปะขอม....................

 

     โบราณสถานนอกกำแพงปราสาทหินพิมาย มีสิ่งที่น่าสนใจดังนี้

     ประตูเมืองและกำแพงเมืองพิมาย สร้างในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บรรดาประตูเมืองทั้ง 4 ทิศ ประตูชัยด้านทิศใต้นับเป็นประตูเมืองที่สำคัญที่สุด เพราะรับกับถนนโบราณที่ตัดผ่านมาจากเมืองพระนครเข้าสู่ตัวปราสาทพิมาย หากหยุดยืนที่ช่องประตูเมืองด้านทิศใต้ จะมองเห็นปราสาทหินพิมายผ่านช่องประตูเมืองพอดี ลักษณะประตูเมืองมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางผ่านตลอดกลางประตู ส่วนของหลังคาได้หักพังไปหมดแล้ว

      เมรุพรหมทัต
อยู่นอกกำแพงปราสาทด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นซากโบราณสถานก่อด้วยอิฐ ปัจจุบันเป็นมูลดินทับถมจนเป็นรูปกลมสูงประมาณ 30 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 59 เมตร ที่เรียกว่าเมรุพรหมทัตเพราะเชื่อว่าเป็นที่ถวายเพลิงพระศพท้าวพรหมทัตตามตำนานนั่นเอง แต่จากลักษณะการก่อสร้างเข้าใจว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานทางด้านทิศใต้ได้แก่ ท่านางสระผม กุฏิฤาษี และอโรคยาศาล

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
....................การทัศนาจรของเณรน้อย....................

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
โดยรอบบริเวณ "ปราสาทหินพิมาย" อ.พิมาย จ.นครราชสีมา




     ขอขอบคุณ ข้อมูลอุทยานประวัติศาสตร์พิมายจากเว็บไซต์ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย และป้ายประชาสัมพันธ์ข้อมูลตามจุดต่าง ๆ ภายในปราสาทหินพิมาย

     ข้อเสนอแนะ :
     พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพิมาย เป็นอีกสถานที่น่าสนใจในการเที่ยวชม มีสถาปัตยกรรม ทับหลัง วัฒนธรรม และโบราณวัตถุในอดีตให้ศึกษา อาคารด้านนอกชั้นหนึ่งชมฟรี เป็นการจัดแสดงในอาคารเปิดโล่งด้านข้างมีหลังคา จัดแสดงชิ้นส่วนจากโบราณสถานต่าง ๆ  ด้านในเป็นอาคาร 2 ชั้น ค่าธรรมเนียม 10 บาท และห้ามถ่ายรูป จัดแสดงอารยธรรมในอดีต ที่มา ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีต่าง ๆ ของขอมและกลุ่มชนทางอีสานของไทย รวมถึงโบราณวัตถุต่าง ๆ ที่มากด้วยคุณค่าทางวัฒนธรรม

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
1.พระบรมรูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จำลอง)  2."ลูกมะหวด" ลูกกรงหินทรายสลัก
3.เสาและคานภายในองค์ปรางค์บางส่วนซึ่งถูกสร้างขึ้นใหม่  4.พระพุทธรูปปางนาคปรก

 

ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย จ.นครราชสีมา
 
 
....................ความงดงามแห่งภูมิปัญญาในอดีต....................

 

     การเดินทางสู่ปราสาทหินพิมาย : จากตัวเมืองโคราช เดินทางโดยใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 พบทางแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 206 ประมาณ 10 กม. จะพบปราสาทหินพิมาย
     

ฐานข้อมูลแหล่งศิลปกรรมท้องถิ่นนครราชสีมา

Copyright © 2024 anurakkorat Rights Reserved.